เครื่องดนตรีไทยภาคเหนือ


เครื่องดนตรีไทยภาคเหนือ

ซึง จัดเป็นดนตรีประเภทเครื่องดีดเป็นเครื่องดนตรีของล้านนาบรรเลง ด้วยการดีดซึงมีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 2 ส่วนคือ ตัวซึง สายซึง และไม้ดีด ตัวซึงทำด้วยไม้สัก หรือไม้เนื้อแข็ง ซึ่งแบ่งออกเป็นกะโหลกซึงและคันซึง ส่วนที่เป็นกระโหลกซึงตรงด้านล่างจะตอกหมุด สำหรับผูกสายกลางกระโหลกจะเป็นที่สำหรับพาดสายซึง ตัวกล่องเสียงที่ขุดเป็นโพรง มีช่องเสียงอยู่ด้านหน้ากำหนดระดับเสียงเป็นระยะ ๆ สายทำด้วยโลหะหรือไหมไม้ดีดทำด้วยเขาสัตว์


สะล้อ เป็นเครื่องดนตรีประเภทสี สะล้อมีส่วนประกอบ 5 ส่วน คือ กระโหลก คันสะล้อ ลูกบิด สายละล้อและคันชักกระโหลกทำด้วยกะลามะพร้าวหน้ากระโหลกทำด้วยแผ่นไม้ค่อนข้างบาง กระโหลกสะล้อเจาะเป็นรูปสำหรับสอดใส่คันสะล้อคันสะล้อด้านบนเจารู 2-3 รู สำหรับสอดใส่ลูกบิด สายสะล้อนิยมใช้สายลวดปลายสายด้านล่างผูกยึดไว้กับปลายคันซอด้านล่างคันชักทำด้วยไม้ ขึงด้วยหางม้าเวลาสีมีทวนปักใช้ตั้งกับพื้น (คันชักแยกออกจากตัวสะล้อ)


ตะโลดโป้ด จัดเป็นเครืองดนตรีประเภทตี เป็นกลองสองหน้า รูปร่างทรงกระบอกยาว ทำด้วยไม้เนื้อแข็งหรือเนื้ออ่อนหน้ากลองขึงด้วยหนังโยง เร่งเสียงด้วยเชือกหนัง ถ่วงหน้าด้วยข้าวสุกบดผสมด้วยขี้เถ้า ตีด้วยไม้หุ้มนวม


ปี่จุม เป็นเครื่องดนตรีประเภท เป่าลิ้นเดียว มีส่วนประกอบแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ตัวปี่ และลิ้นปี่ ตัวปี่ทำด้วยไม้รวกชนิดหนึ่งด้านบนใกล้ปลายสุดเจาะรูสำหรับสอดใส่ลิ้น ใต้ลงมาเจาะรูสำหรับกดนิ้ว ลิ้นปี่ทำด้วยโลหะนำไปสอดใส่ไว้ในรูลิ้น เวลาเป่า ผู้เป่าจะอมด้านที่มีลิ้น ไว้ในกระพุ้งแก้มในแนวนอน การเป่าลมเข้าหรือออกจะได้โทนเสียงระดับเดียวกัน ปี่สามารถทำเสียงได้ทั้งเป่าและดูดทำให้เสียงดังติดต่อกันไม่ขาดระยะ ปี่ที่นิยมทำมี 4 ขนาด คือ ปี่ใหญ่ ปี่กลาง ปี่ก้อยและปี่ตัด


กลองปูเจ่หรืออุเจ่ จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี มีลักษณะคล้ายกลองยาว แต่มีขนาดเล็กกว่า ตัวกลองทำด้วยไม้ขนุนไม้ชุมเห็ด ไม้ซื้อ ขึงด้วยหนังหน้าเดียว ท่องหางของกลองกลึงเป็นปล้อง ๆ มีสายสะพายสำหรับคล้องไหล่ เวลาตี มักตีด้วยมือ ประวัติกลองชนิดนี้ เป็นของชาวไทยมาช้านาน ได้แพร่เข้ามาในอาณาจักรล้านนาไทยแต่โบราน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น