เครื่องดนตรีไทยภาคใต้
กลองหนัง รูปร่างลักษณะเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี
เป็นกลองสองหน้าตัวกลองทำจากไม้เนื้อแข็ง ข้างในกลวงขึ้นหน้าด้วยหนังวัว หรือ
หนังแพะทั้งสองด้าน ตีด้วยไม้ 1 คู่ เวลาตีต้องตั้งกลองไว้ที่พื้น หรือขาตั้ง เพื่อให้ตีได้สะดวก
ประวัติมีมาแต่โบราณ ไม่ปรากฎหลักฐานว่าเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไหร่
นิยมใช้ในการละเล่นของภาคใต้ทั่วไป จังหวัดที่นิยมบรรเลง ทุกจังหวัดทางภาคใต้
โอกาสที่บรรเลง งานมงคลและงานอวมงคลทั่วไปโพน เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีเป็นกลองสองหน้า ตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ตรงกลางตัวกลองด้านบนมีหูโลหะตรึงไว้สำหรับแขวนและตีด้วยไม้ขึงด้วยหนังวัว 2 ด้านประวัติไม่ทราบประวัติที่แน่นอนนิยมตีแข่งขันเสียงดังแต่บางครั้งจะใช้ตีประกอบกับฆ้องเดี่ยวไม่ใช้ประสมวงดนตรีจังหวัดที่นิยมบรรเลงทุกจังหวัดในภาคใต้ โอกาสที่บรรเลงตีเป็นสัญญาณเวลาพระฉันเพลหรือลงโบสถ์ และใช้ตีในขบวนการแห่พระตลอดจนใช้ตีแข่งขันความดังกัน เรียกว่า “จันโพน”
กลองแขก เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีเป็นกลองสองหน้ามีลักาณะคล้ายปืดแต่เล็กกว่าตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็งหน้ากลองทำด้วยหนังนากหรือหนังเสือปลา วิธีตีกลองจะตีด้วยไม้มีลักษณะรูปโค้ง และใช้มือตีอีกด้านหนัง
ฆ้องคู่ จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทตีฆ้องแฝด ตัวฆ้องทำด้วยโลหะผสมตีด้วยไม้หุ้มนวมแขวนอยู่ในกลอง ไม้สี่เหลี่ยมเจาะรูให้เสียงออกประวัติ มีเล่นกันมาช้านานแล้วใช้บรรเลงในวงดนตรีประกอบด้วย ทับ กลองหนัง ฉิ่ง ปี่
ทับ เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีเป็นกลองหน้าเดียว ทำด้วยไม้เนื้อแข็งชุดหนึ่งมี 2 ใบมีเสียงสูงและเสียงต่ำ ตีสอดสลับกันประวัติใช้มานานแล้ว นิยมใช้ผสมกับกลองตุ๊กสำหรับประกอบการแสดงโนรา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น